วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน

 “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน”

                                     “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน”


วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ และบรรดาลูกเสือ เนตรนารี บุคลากรทางการลูกเสือ ตลอดจนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า คือ เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีคุณูปการต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งด้านการคมนาคม การแพทย์และสาธารณสุข ด้านการปกครอง กิจการเสือป่าและลูกเสือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปและวัฒนธรรมไทย ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ด้วยคุณูปการดังกล่าว ทางราชการจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ไว้ในสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ที่สำคัญ คือ พระบรมราชานุสาวรีย์บริเวณหน้าสวนลุมพินี ซึ่งรัฐบาลและประชาชนพร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างขึ้น
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้ได้มีพิธีเปิด เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 และทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” และจัดให้มีการถวายบังคมพระบรมรูปเป็นประจำทุกปี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสิน ทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
                                  “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน”


วันลอยกระทง

 

วันลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)

วันลอยกระทง (Loi Krathong Festival)
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ประวัติการลอยกระทง

                    การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ


กิจกรรมวันลอยกระทง

  1. นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
  2. ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง  เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
  3. จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
  4. จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง


เหตุผลในการลอยกระทง

  1. เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
  2. เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
  3. เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต


การลอยกระทงในปัจจุบัน

                    การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ


การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน

การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
  การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า


การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ
  จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา

ที่มา; http://www.3armyarea-rta.com/vocation/loy_katong.html

วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน

  “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ) 25 พฤศจิกายน”                                       วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือ “วันวชิราวุธ” ...